มะระขี้นก กินแล้วตาหวาน ไขมัน น้ำตาลลด แต่ต้องระวัง
เมื่อเอ่ยถึงมะระขี้นก...มโนภาพของมันคือความขม มะระขี้นก เป็นผักที่คนไทยรู้จักดีมาช้านาน เป็นไม้เลื้อยมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า bitter ground ชื่อมันฟ้องว่านี่คือสุดยอดแห่งความขม ซึ่งคนรุ่นใหม่ออกจะรู้สึกรังเกียจในความขมของมัน แต่กับคนโบราณมะระขี้นกเป็นของโปรด จิ้มน้ำพริกกะปิ หรือน้ำพริกอะไรดูเอร็ดอร่อยทุกคำ จนบางทีเหมือนเสแสร้งแกล้งทำว่าอร่อย เพราะกินไปก็ชื่นชมความขมของมันไป เหมือนกำลังกินขนมหวาน
ความขมของมะระขี้นกเกิดจากสารอัลคาลอยด์โมโมดิซีน (momodicine) ซึ่งอัลคาลอยด์ตัวนี้จะเจือจางลงเมื่อนำมะระขี้นกไปผ่านความร้อน เช่น ต้มในน้ำเดือด ซึ่งจะทำให้ความขมลดลง ทำให้รับประทานง่ายขึ้น แต่ข้อเสียคือ เมื่อสารโมโมดิซีนเจือจางคุณค่าทางโภชนาการจะลดลงด้วย ความขมของมะระขี้นกช่วยให้กระเพาะเจริญอาหาร ท้องไส้ก็ระบายได้ดี
นอกจากนี้ความขมยังเป็นตัว ช่วยถุงน้ำดี ป้องกันถุงน้ำดีพิการ และช่วยได้อีกหลายโรค
มีผู้ป่วยไม่น้อยมาพบหมอใบไม้ เมื่อวินิจฉัยอาการแล้วรู้ว่าขาดของขม คือเป็นคนไม่ชอบของขม ปฏิเสธของขมโดยเฉพาะมะระขี้นก ทั้งชีวิตไม่ยอมกินเลย มนุษย์เราเมื่อไม่กินอาหารบางอย่างนั่นหมายถึงจะไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนั้นๆ เช่น ใครไม่รับประทานผัก ร่างกายย่อมขาดวิตามินและเกลือแร่ โดยเฉพาะวิตามินซี ซึ่งเป็นวิตามินพื้นฐานที่ร่างกายต้องการมาก
มะระขี้นกมีถิ่นกำเนิดในซีกโลกตะวันออก กลุ่มประเทศใกล้เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึงตอนบนที่อบอุ่น ดังนั้นจึงสามารถพบเห็นอาหารหลายอย่างของชนชาติเหล่านี้นิยมใช้มะระขี้นก เป็นส่วนประกอบของอาหารหลายหลาก โดยใช้ทั้งต้น ผล ใบ
หมอใบไม้เคยอยู่อินเดียมาก่อน คนอินเดียก็ชอบแกงใส่มะระขี้นก เป็นแกงใส่เครื่องเทศกลิ่นแรงๆ ที่คนไทยไม่ชอบนี่แหละ หน้าตามันจะเหนียวข้นคล้ายพะแนง ไม่มีกะทิ คนอินเดียกินกะทิไม่เป็น แกงของอินเดียใช้นมเปรี้ยวเพื่อให้ได้ไขมัน
คนอินเดียกินเครื่องเทศไม่ต่างจากไทย เท่ากับว่าคนอินเดียกินยาจากธรรมชาติในชีวิตประจำวัน คนอินเดียจึงเป็นพวกหัวแข็ง ไม่ค่อยเป็นหวัดกัน ตากแดดตากฝนสามารถทนทานได้ดี
สำหรับคนไทย มะระขี้นกถือเป็นอาหารในบ้านที่คนส่วนใหญ่ยังนิยมรับประทาน อาจมีบ้างที่เด็กรุ่นใหม่รู้สึกรังเกียจความขมของมัน จึงอยากบอกว่า...อย่ารังเกียจความขมของมะระขี้นก เพราะความขมของมะระขี้นกนี้ คือตัวยาสำคัญที่ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที
มะระขี้นกมีเบต้าแคโรทีน... เบต้าแคโรทีนทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ ขณะเดียวกันเบต้าแคโรทีนส่วนหนึ่งมันสามารถเปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอ
วิตามินเอมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทตา ภาษาแพทย์แผนไทยบอกว่ากินแล้วช่วยบำรุงสายตา แก้ตาฟาง ช่วยถนอมสายตา ไม่ต้องไปซื้อแว่นราคาแพงที่อวดอ้างว่าตัดแสงอะไรให้เปลืองสตางค์
แต่การที่จะให้วิตามินเอออกฤทธิ์ ต้องนำมะระขี้นกไปต้มให้สุก แล้วราดด้วยหัวกะทิ เหตุผลคือ...วิตามินเอมันละลายในไขมัน ไม่ละลายในน้ำ หัวกะทิมีไขมันมาก ทั้งยังเป็นไขมันชนิดดี วิตามินเอจึงออกฤทธิ์ ช่วยระบบประสาทตา หรือระบบการมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน ยิ่งต้องระวังปัญหาด้านการมอง นอกจากต้องระวังปัญหาของระดับน้ำตาลในกระแสเลือดแล้ว...ซึ่งการรับประทาน มะระขี้นกเป็นประจำ จะมีผลต่อร่างกายสองเด้งสองทาง
ด้านหนึ่งอย่างที่บอก เปิบมะระขี้นกแล้วช่วยเรื่องสายตา ช่วยดวงตาให้สดใส...อีกด้าน...มะระขี้นกช่วยลดไขมัน ลดน้ำตาลในกระแสเลือด
การรับประทานมะระขี้นกหน้าตาขี้เหร่เป็นประจำ จะมีผลต่อระบบการย่อยไขมันในร่างกายเป็นลำดับแรกก่อน อวัยวะส่วนไหนต้องทำหน้าที่ย่อยไขมัน อวัยวะส่วนนั้นย่อมได้อานิสงส์ คือหมายถึงมีตัวช่วย เปรียบเสมือนได้สารตั้งต้นในการทำงาน เมื่อไขมันถูกย่อยได้ดีขึ้น โดยเหตุผลแน่นอนว่าปัญหาของน้ำตาลส่วนเกินในกระแสเลือดถูกควบคุมโดยปริยาย
แต่การรับประทานมะระขี้นก เช่น ต้มจิ้มน้ำพริกร่วมกับผักอื่น หรือใครใจกล้ากินดิบกันเลย ยังไม่ได้ผลกับการรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเต็มร้อย...หากต้องการผลที่ รวดเร็วให้ชะงัดอยู่หมัด ต้องนำผลสดของมะระขี้นกไปคั้นน้ำแล้วนำมาดื่ม
กรรมวิธีสะดวกสามารถนำไปปั่น ถ้าให้ดีควรตำให้ละเอียดแล้วคั้นน้ำ การนำมะระขี้นกมาคั้นน้ำดื่ม ร่างกายจะได้รับเบต้าแคโรทีน เพราะผู้ป่วยเบาหวานหรือมีไขมันส่วนเกินย่อมมีอนุมูลอิสระ ซึ่งเรามักเข้าใจว่าเรื่องของอนุมูลอิสระเป็นจำเพาะในกรณีผู้ป่วยมะเร็งเท่านั้น แท้จริงแล้วอนุมูลอิสระเกิดขึ้นทุกวันแต่ร่างกายมีระบบกำจัดมันทิ้ง และใครที่เป็นผู้ป่วยมีโรคประจำตัวย่อมมีอนุมูลอิสระสูงกว่าคนทั่วไป เพราะผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่ำ
อีกทั้งน้ำมะระขี้นกดูด ซึมได้ดี ไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย มันสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าถึงระบบเซลล์ในส่วนอวัยวะที่ร่างกายต้องการได้อย่างรวดเร็ว กระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารน้อย ธาตุอาหารก็คือยาที่ร่างกายส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บหรืออักเสบต้องการใช้
มะระขี้นกจึงเป็นสุดยอดสมุนไพรไทย หรืออีกนัยคือ สุดยอดอาหารที่มีฤทธิ์เป็นยา ซึ่งซีกโลกตะวันตกไม่มี แพทย์เข้าใจวิธีบำบัดแนวทางนี้ หรือแม้แต่คนไทยเองก็ยังพลอยหลงทางตามฝรั่งไปด้วย และแพทย์แผนปัจจุบันของไทยเราก็ยังเชื่อยาฝรั่ง...ทั้งที่ในโลกนี้ไม่มียา จากสารเคมีใด สามารถรักษาโรคไขมันและน้ำตาลส่วนเกินในกระแสเลือดได้
ผมเขียนเรื่องนี้บ่อยเพื่อย้ำเตือนให้ผู้ป่วยเห็นถึงพิษภัยของยา ที่รักษาโรคไม่หายมันแค่ประคองลมหายใจเท่านั้น สุดท้ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องโดนล้างไต ในกรณีของไขมันและน้ำตาลส่วนเกิน หากผู้ป่วยต้องการควบคุม สู้หันมาใช้วิธีทางธรรมชาติดีกว่า ซึ่งมีหลากหลายหนทางให้เลือก เพียงแต่ต้องมีความรู้มีความเข้าใจ เพราะการใช้วิธีทางธรรมชาติบำบัดแทนการใช้ยาก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน
วันนี้เรายังขาดความเข้าใจด้านนี้อยู่ การสู้โรคจึงยังไม่ได้ผลกับผู้ป่วยหลายๆ ราย...กรณีการใช้มะระขี้นกก็เช่นเดียวกัน ผู้ป่วยต้องระวังส่วนที่เป็นอันตรายเช่นเดียวกับการใช้ยาทางสารเคมี
การใช้สมุนไพรนั้นมักไม่มีมาตรฐานแน่นอน ปริมาณที่ใช้มักบอกว่าให้กะพอประมาณ หรือหนึ่งหยิบมือ แพทย์แผนปัจจุบันเขาจึงรับไม่ได้กับวิธีการนี้ ซึ่งหมอใบไม้เห็นด้วยกับอะไรที่ไม่ได้มาตรฐาน หากสิ่งนั้นมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง...กรณีมะระขี้นกเช่นกัน ผู้ป่วยต้องใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ควรกินทุกวันอย่างต่อเนื่อง เมื่อตรวจพบว่าระดับไขมันและน้ำตาลลดแล้วควรหยุดบ้าง เพื่อให้สารอัลคาลอยด์ที่ตกค้างโดนกำจัดทิ้ง
คนไทยชอบทำอะไรเกินเลยเสมอ...กรณีการดื่มน้ำมะระขี้นกอย่าใส่มะระขี้ นกจน ขม เพราะสารอัลคาลอยด์ที่มีในความขมจะทำให้ตับต้องทำงานหนัก หากมันสู้ไม่ไหวอาจเกิดโศกนาฏกรรมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีโอกาสเสียชีวิตได้ อย่ามองว่ามะระขี้นกเป็นอาหารแล้วไม่มีความเสี่ยง ยิ่งกับสุภาพสตรียิ่งมีความเสี่ยงสูง อาจมีอาการตกเลือดหรือแท้งได้ในกรณีกำลังตั้งครรภ์แล้วกินมะระขี้นกมากเกินขนาด หรือกินมะระขี้นกที่เริ่มสุก
ข้อควรรู้...ผู้ป่วยหลายรายรับประทานหรือดื่มน้ำมะระขี้นกแต่ไม่ได้ผล โบราณบอกว่าธาตุมันไม่รับ ก็ต้องเปลี่ยนวิธีอื่น ลองไปจนรู้ว่าอะไรที่ใช้ได้
สำหรับท่านที่ได้ผลต้องการให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ต้องใช้เรื่องของปราณบำบัดเกี่ยวข้องด้วย เพราะปัญหาไขมันในหลอดเลือด และน้ำตาลส่วนเกิน วิธีรักษาระดับยังไม่ถูกต้อง อวัยวะที่เกี่ยวข้องต้องได้รับการฟื้นฟูด้วยโรคจึงจะหายได้
ไม่ต้องกินยาโรคก็หายได้...กินอาหาร...ใช้ปราณบำบัด เงื่อนไขง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องเสียสตางค์
ที่มา : วิชาการดอทคอม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น